![]() |
Air Vent, Air Eliminator
|
![]() ![]() |
วาล์วไล่ลมออกจากระบบไอน้ำ Air Vent for Steam วาล์วไล่ลมออกจากระบบน้ำ Air Vent for Water วาล์วป้องกันสูญญากาศ Vacuum Breaker, Vacuum Relief วาล์วไล่น้ำออกจากระบบลม Air Trap for Compressed Air |
วาล์วไล่ลม(อากาศ)ออกจากระบบไอน้ำอัตโนมัติ...Automatic Air Vent for Steam |
![]() ![]() TH13A TSS22 ![]() TH21 |
ทำไมถึงต้องไล่ลม(อากาศ)ออกจากระบบไอน้ำ? อากาศและก๊าซที่รวมตัวอยู่ในระบบไอน้ำ เป็นตัวก่อให้เกิดปัญหาได้เป็นอันมาก เพราะเมื่อมันรวมอยู่กับไอน้ำ มันจะทำให้อุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิจริงของไอน้ำ อีกทั้ง อากาศยังเป็นฉนวนของการถ่าบเทความร้อน ดังนั้น จึงเป็นสาเหตุของการทำให้เครื่องร้อนช้า ใช้เวลาในการผลิตนานขึ้น อากาศยังอาจถูกผลักดันให้ไปอยู่ในจุดอับ ทำให้เกิดจุดบอดในการถ่ายเทความร้อน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้ผลผลิตเสียหายได้ อากาศจะอยู่ในระบบไอน้ำทั้งระบบก่อนที่เราจะเริ่มเปิดจ่ายไอน้ำ ส่วนก๊าซอื่นๆ จะเกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตไอน้ำ ก๊าซบางชนิดสามารถเป็นสาเหตุของการกัดกร่อนได้ การแก้ไขปัญหา วิธีที่ดีที่สุดในการไล่ลม(อากาศ)และก๊าซออกจากระบบไอน้ำ คือใช้ตัว Automatic Air Vent ที่เป็นชนิด Balanced Pressure Thermostatic ซึ่งเป็นชนิดเดียวกันกับที่ใช้ทำ Steam Trap ติดตั้งไว้ในตำแหน่งที่ที่อากาศจะถูกไล่ไปรวมตัวกันอยู่ เช่น ที่ปลายท่อ, ที่เครื่องจักรด้านที่ตรงข้ามกับทางเข้าของไอน้ำ อากาศและก๊าซ ไม่เพียงแต่จะถูกปล่อยออกในช่วงเริ่มจ่ายไอเท่านั้น แต่ยังสามารถถูกปล่อยออกในขณะทำงานอีกด้วย เมื่อใดก็ตามที่เกิดมีอากาศและก๊าซเกิดขึ้น ทั้งนี้เพราะอุปกรณ์นี้ ทำงานได้อย่างอัตโนมัติ โดยไม่เกี่ยงว่า ความดันของไอน้ำจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างไร อุปกรณ์นี้ จะเปิดที่อุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิไอน้ำ และปิดที่อุณหภูมิไอน้ำเสมอ สินค้าแนะนำ ADCA TH13A ขนาด 1/2" ทนความดันไอน้ำได้ 13 bar (188.5 psi) ADCA TSS22 ขนาด 1/2", 3/4", 1" ทนความดันไอน้ำได้ 22 bar (319 psi) ADCA TH21 ขนาด 1/2" ทนความดันไอน้ำได้ 21 bar (304.5 psi) |
กลับขึ้นบนสุด - Back To TOP ขอรายละเอียดเพิ่มเติมทาง e-mail : epmc@epmc.co.th |
วาล์วไล่ลมออกจากระบบน้ำอัตโนมัติ...Automatic Air Vent for Water (Air Eliminator) |
![]() ![]() Conbraco Model 35FV Air Vent ![]() ![]() ADCA Model AE16 Air Eliminator |
ปัญหาของลม(อากาศ) ในระบบน้ำ อากาศและก๊าซในระบบน้ำ สามารถก่อปัญหาได้มากมาย ดังเช่น ทำให้กิดเสียงดัง, ทำให้เกิดการกัดกร่อน, เป็นอุปสรรคในระบบการไหลเวียนและการเติมน้ำ, อีกทั้งยังอาจทำให้ระบบงานหยุดได้ชั่วขณะ อากาศและก๊าซ จะเข้าอยู่ในระบบในช่วงเริ่มแรกของการปล่อยน้ำเข้าระบบ และอาจเล็ดลอดเข้าไปในขณะใช้งานปกติก็ได้ การแก้ไขปัญหา วิธีที่ดีที่สุดในการไล่ลม(อากาศ)และก๊าซออกจากระบบน้ำ คือใช้ตัว Automatic Air Vent (Air Eliminator) ที่เป็นชนิด ลูกลอย ติดตั้งตามจุดที่ซึ่งอากาศจะไปรวมตัวกัน ลูกลอยจะตกและเปิดวาล์วเมื่อมีอากาศ และจะลอยปิดวาล์วเมื่อมีน้ำเข้ามา อุปกรณ์นี้ จะทำงานอย่างอัตโนมัติทังในช่วงเริ่มต้น และระหว่างการใช้งาน โดยไม่ต้องปรับแต่งแต่อย่างใดทั้งสิ้น สินค้าแนะนำ Conbraco รุ่น 35FV ขนาด 1/8" และ 1/4" ใช้ได้ทั้งน้ำร้อนและน้ำเย็น อุณหภูมิได้ถึง 110°C (230°F) ADCA รุ่น AE16 ขนาด 1/2" และ 3/4" ทนความดันน้ำได้ถึง 16 bar (232 psi) อุณหภูมิได้ถึง 198°C (388°F) |
วาล์วป้องกันสูญญากาศ...Vacuum Breaker, Vacuum Relief |
![]() ![]() ![]() Conbraco Series 37 |
ปัญหาของสูญญากาศ (Vacuum) ในระบบไอน้ำ เมื่อไอน้ำกลั่นตัวเป็นน้ำ (Condensate) จะเกิดสูญญากาศขึ้นเนื่องจากปริมาตรไอน้ำหดตัวลงเป็นอันมาก และจะมีแรงดูดอย่างมหาศาล และจะดูดทุกอย่างเข้าไปเพื่อปรับความดันให้คงที่ ถ้าหากที่เครื่องจักรที่ไม่มีช่องทางให้อากาศเข้าได้ เช่น ถังปิด แรงดูดอาจทำให้ถังยุบหรือบิดเบี้ยวผิดรูปร่างได้ ในระบบถังปิด ระบบถังปิดต่างๆ ซึ่งมีผนังบาง และบรรจุสิ่งซึ่งสามารถขยายและหดตัว(ปริมาตร) ตามอุณหภูมิ เช่น Tank Farm, ถังน้ำมัน ถังบรรจุของเหลวอื่นๆ ฯลฯ สามารถเสียหายได้เนื่องจาการหด(ยุบ)ตัวของสิ่งที่บรรจุไว้ ก็ควรจะติดตั้งตัวป้องกันการเกิดสูญญากาศไว้ด้วย สินค้าแนะนำ ADCA รุ่น VB21 ขนาด 1/2" ใช้กับระบบไอน้ำ, ทนความดันไอน้ำได้ 21 bar (304.5 psi.) KUNKLE รุ่น 215V Vacuum Relief Valve ขนาด 2", 2-1/2" และ 3" ใช้สำหรับถังบรรจุขนาดใหญ่ เช่น Tank Farm สามารถตั้งระดับสูญญากาศได้ จาก 2 นิ้วปรอท ถึง 29 นิ้วปรอท, อุณหภูมิจาก -20°F ถึง 400°F (-29°C ถึง 205°C) ใช้ปรับตั้งแรงดูดของ Pneumatic Conveying System ได้ Conbraco 37 Series ขนาด 1/2" และ 3/4", ทนความดันน้ำได้ 200 psi (13.8 bar) ทนอุณหภูมิได้ 250°F (121°C) สามารถใช้กับระบบไอน้ำความดันต่ำได้ |
กลับขึ้นบนสุด - Back To TOP ขอรายละเอียดเพิ่มเติมทาง e-mail : epmc@epmc.co.th |
วาล์วไล่น้ำออกจากระบบลม...Air Trap for Compressed Air |
![]() ![]() ADCA FA17/G Air Trap ![]() ADCA CAD Compressed Air Automatic Drain Valve |
น้ำในระบบลมอัด (Compressed Air) ในระบบลมอัด (Compressed Air) ความชื้นในอากาศ จะถูกอัดเข้าไปพร้อมๆกับอากาศ ทำให้เกิดเป็นน้ำสะสมอยู่ในระบบ โดยเเฉพาะที่ถังเก็บ(Air Receiver), Aftercooler, Separator, Air Filter ฯลฯ ถ้าหากไม่กำจัดน้ำออก เมื่อนำลมไปใช้งาน ก็จะมีละอองน้ำหรือหยดน้ำติดออกไปด้วย สินค้าแนะนำ ADCA รุ่น FA 17/G ขนาด 1/2" และ 3/4", เป็น Air Trap ชนิดลูกลอย ทำงานได้โดยอัตโนมัติ ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษ สำหรับปล่อยน้ำออกจากระบบลมอัด มีก้านสำหรับยกวาล์วในกรณีย์ที่มีน้ำมันเข้าไปทำให้วาล์วติด สามารถนำไปติดตั้งได้ที่ ถังเก็บลม(Air Receiver), Aftercooler, Separator และตามท่อเมน ความดันใช้งานสูงสุด 14 bar, อุณหภูมิสุงสุด 198°C ADCA รุ่น CAD - Compressed Air Automatic Drain Valve ประกอบด้วย Solid State Timer ประกอบเข้ากับ Solenoid Valve ได้รับการออกแบบโดยเฉพาะ สำหรับปล่อยน้ำออกจาก Filter, Separator, Aftercooler, Dryer, Receiver, Drip leg และ อุปกรณ์สำหรับระบบ Compressed Air ซึ่งอาจจะมีน้ำหรือน้ำมันเข้าไปสะสม การทำงาน สามารถกำหนดได้จากการตั้งช่วงเวลาเปิดและปิดตามต้องการ สามารถติดตั้งได้ง่าย พร้อมทั้งมีปุ่มกดเพื่อทดสอบการทำงานอีกด้วย ขนาดวาล์ว : 3/8" และ 1/2" ความดันใช้งาน : 16 bar (40 หรือ 80 bar ต้องสั่งพิเศษ) อุณหภูมิรอบข้างสูงสุด (Ambient Temperature) : 55°C อุณหภูมิของเหลวสูงสุดที่จะผ่านวาล์ว (Media Temperature) : 90°C ระบบไฟฟ้า : 220-240V (24V สั่งพิเศษ) ระดับทนทานต่อสภาวะแวดล้อม : IP 65 ช่วงรอบเวลาทำงาน (Interval Time) : 0.5 - 45 นาที ช่วงเวลาเปิด (Discharge Time) : 0.5 - 10 วินาที |
กลับขึ้นบนสุด - Back To TOP ขอรายละเอียดเพิ่มเติมทาง e-mail : epmc@epmc.co.th |